นายครรชิต สุขเสถียร รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลและประกาศเกียรติคุณแก่ผู้ชนะการประกวดฟาร์มมาตรฐานสินค้าเกษตร ในโครงการเกษตรเพื่อชีวิต “เกษตรกรรุ่นใหม่ใส่ใจมาตรฐาน” ประจำปี 2563 พร้อมมอบใบประกาศนียบัตรแก่อาจารย์และนักศึกษาที่ร่วมโครงการ ในวันที่ 30 กันยายน 2563 ณ สวนนงนุช รีสอร์ท จังหวัดชลบุรี เพื่อเป็นการยกย่องและให้กำลังใจแก่เยาวชนที่มีการนำมาตรฐานสินค้าเกษตรไปใช้ในแปลง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความสามารถของคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นอนาคตในการพัฒนาประเทศต่อไป ซึ่งโครงการนี้ มกอช. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กรมการข้าว กรมประมง และกรมปศุสัตวN โดยผลการประกวดมีดังนี้
1.ขอบข่ายพืชอาหาร เรื่องการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร (มกษ.9001-2556) จำนวน 4 รางวัล ดังนี้
1) รางวัลชนะเลิศ ได้แก่โครงการผลิตข้าวโพดกินสด (พันธุ์ราชินีทับทิมสยาม) เพื่อจำหน่ายฝักสด จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่ ประกอบด้วยนางสาวหมอนวล ลุงต่า นายสมศักดิ์ มาลีวรสิทธิ์ นายตะวัน มานะพัฒนมงคล นางสาวกุลสตรี รพีบุญญานนท์ และนางสาวจินดาพร นิมิตจรรยา
2) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ โครงการปลูกฟักแฟงตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร (มกษ.9001-2556) จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลพบุรี ประกอบด้วยนายสมชาย ปักษ์ศรี นายกิตติพงษ์ พนะโพธิ์ นางสาวอาริสา จิตรถวิล นางสาวศิริวิภา พวงจำปี และนางสาวจิราภรณ์ ผลบุญ
3) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ โครงการปลูกข้าวโพดหวานตามมาตรฐาน GAP จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพัทลุง ประกอบด้วยนายศรายุทธ ทองวิเชียร นายศักดาเดช ขุนชำนาญ นางสาวสุนทรี พูลเกิด นางสาวจรรยพร อักษรเนียม และนายปรเมศวร์ พูลเกิด
4) รางวัลชมเชย ได้แก่ โครงการ Good for Health มะเขือสามสีตามมาตรฐาน GAP จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ ประกอบด้วยนายเกตุ ใยแสง นายศิริศักดิ์ สายแวว นางสาวขวัญฤดี สิงห์ซอม นางสาวจุฑามาศ โสมาบุตร และนางสาววิไลลักษณ์ บุตรโสม
2.ขอบข่ายปศุสัตว์ เรื่องมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก่พื้นเมืองแบบเลี้ยงปล่อย (มกษ. 6914-2560) จำนวน 4 รางวัล ดังนี้
1) รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โครงการการเลี้ยงไก่พื้นเมืองแบบเลี้ยงปล่อย ตามระบบ GAP จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี ประกอบด้วย นายพลพล ทองเขียว นายพศกร ชรินรัตนกุล และนายปวร เรอกวอ
2) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ โครงการการเลี้ยงไก่พื้นเมืองสู่ฟาร์มมาตรฐาน GAP เพื่อผลิตอาหารปลอดภัย จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบุรี ประกอบด้วย นาวสาวสงกรานต์ ลอพันธ์ นายวิวัฒนา เส็งสาย และนางสาวอรอำภา ลอพันธ์
3) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ โครงการการเลี้ยงไก่ตะเภาทองแบบเลี้ยงปล่อย จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี ประกอบด้วย นายกฤษฎา ศรียอดแส นางสาวสกลภัทร เรือนเงิน และนางสาวจิตติมา กลิ่นดอกแก้ว
4) รางวัลชมเชย ได้แก่โครงการไก่พื้นเมือง สินค้าเกษตร GAP จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกำแพงเพชร ประกอบด้วยนางสาวสุฑามาศ รุ่งโรจน์ และนางสาวศศิกานต์ ดีปราชู
3.ขอบข่ายประมง เรื่อง การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตวน้ำที่ดีสําหรับฟารมเลี้ยงสัตว์น้ำจืด (มกษ. 7417- 2559) จำนวน 4 รางวัล
1) รางวัลชนะเลิศ ได้แก่โครงการการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยตามระบบ GAP จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง ประกอบด้วยนายวัฒนา สมนวน นายพงศักดิ์ โพธิ์ทอง นายเดชา พัลพัฒน์ นางสาวอรทัย ดอนมุงคุณ และนางสาววรรณพร เครือทอง
2) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่โครงการปลานิลจิตรลดา สินค้าเกษตร GAP จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพะเยา ประกอบด้วยนายก้องกิดากร ใจวงศ์ นายวสันต์ อามง นายจีรพัฒน์ สีเสียดค้า นายเกริกฤทธิ์ ภูบรรทัด และนางสาวธมลวรรณ แสนสุข
3) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่โครงการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อซีเมนต์ระบบน้ำหมุนเวียนตามระบบ GAP จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสงขลา ประกอบด้วยนายกฤษฎา พูลรักษ์ นายกิจติภูมิ แก้วสว่าง นายธีรภัทร สังคะโน และนายอนุสรณ์ จันทร์เพ็ชร
4) รางวัลชมเชย ได้แก่โครงการเลี้ยงกบตามมาตรฐาน GAP จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกระบี่ ประกอบด้วย นายชัยวัฒน์ บุตรมิตร นายวุฒิชัย ชูจันทร์ และนางสาวอรทัย เดชหนุน
นอกจากนี้ มอกช. ได้มอบประกาศเกียรติคุณประกาศนียบัตร ให้แก่ วิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 24 แห่ง ประกอบด้วยวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีจากจังหวัดเชียงใหม่ พะเยา กำแพงเพชร ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครราชสีมา สุพรรณบุรี ชัยนาท ลพบุรี สระแก้ว ชลบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ ตรัง พัทลุง สตูล สงขลา และวิทยาลัยประมงเขตอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร
การจัดโครงการเกษตรเพื่อชีวิต “เกษตรกรรุ่นใหม่ใส่ใจมาตรฐาน” ประจำปี 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practice : GAP) ในขอบข่ายพืชอาหาร ข้าว ประมง ปศุสัตว์ และเทคโนโลยีการผลิตที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ให้แก่ นักศึกษาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ซึ่งถือได้ว่าเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) ซึ่งกิจกรรมในโครงการประกอบด้วยการสัมมนาชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการและหลักเกณฑ์การเข้าร่วมประกวดการเขียนโครงการฟาร์มมาตรฐานสินค้าเกษตรการส่งเสริมการนำมาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ.) ไปปฏิบัติใช้ในแปลง จนถึงการตัดสินการประกวดฟาร์มมาตรฐานสินค้าเกษตร ทั้งนี้ โครงการเกษตรเพื่อชีวิตได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบันเป็นปีที่ 6 มีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 801 คน มีโครงการที่ดำเนินการภายใต้มาตรฐาน จำนวน 192 โครงการ
“มกอช. มุ่งหวังว่านักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการจะสามารถนำความรู้ ความเข้าใจระบบการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและเป็นไปตามมาตรฐาน ไปใช้เป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ สามารถเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชนและสังคมได้ เป็นกำลังสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานในระบบการเกษตรของประเทศ มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพเกษตรกรรม ช่วยบรรเทาการขาดแคลนบุคลากรภาคการเกษตรในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมบุคลากรด้านการมาตรฐาน สอดรับนโยบายการถ่ายโอนภารกิจด้านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์”รองเลขาธิการ มกอช. กล่าว
No Comments