News

รองอธิบดีกรมชลประทาน ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง เตรียมพร้อมรับมือน้ำหลากปี63

12/09/2020

วันนี้(12ก.ย.63)ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน พร้อมคณะ ลงพื้นที่ติดตามการบริหารจัดการน้ำลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างและการเตรียมความพร้อมรับมือน้ำหลากในช่วงฤดูฝนปี63 โดยมี นายสุรัช ธนูศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่10 นายอรรถพร ปัญญาโฉม รองผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 10 นายอนุสรณ์ ตันติวุฒิ ผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดการน้ำและบำรุงรักษา สำนักงานชลประทานที่ 10 นายชัชชม ชมประดิษฐ์ ผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดการน้ำและบำรุงรักษา สำนักงานชลประทานที่ 11 พร้อมด้วยผู้อำนวยการโครงการชลประทาน และผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมและบรรยายสรุปผลการดำเนินงาน ณ ห้องประชุมswoc10 สำนักงานชลประทานที่10 จังหวัดลพบุรี
ปัจจุบัน(12ก.ย63)เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำ 60 ล้าน ลบ.ม. เป็นน้ำใช้การได้ 57 ล้าน ลบ.ม. เพาะปลูกพืชไปแล้ว 1,260,679 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 61 ของแผน สำหรับการบริหารจัดการน้ำหลากในช่วงฤดูฝน จะใช้คั้นกันน้ำริมคลองส่งน้ำ คั้นกันน้ำแม่น้ำลพบุรี และคั้นกันน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อปัองกันน้ำท่วม พร้อมทั้งทำการตัดยอดน้ำจากทางด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยาเข้าคลองชัยนาท-ป่าสักปริมาณ 210ลบ.ม./วินาที คลองชัยนาท-อยุธยาปริมาณ 65 ลบ.ม./วินาที และทางด้านท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเข้าแม่น้ำลพบุรีปริมาณ 50 ลบ.ม./วินาที และคลองบางแก้ว 100 ลบ.ม./วินาที รวมทั้งผันน้ำเข้าพื้นที่ลุ่มต่ำ 6 แห่ง พื้นที่ประมาณ 290,130 ไร่ สามารถรับน้ำได้ 544 ล้าน ลบ.ม. เพื่อหน่วงน้ำไม่ให้เข้าสู่พื้นที่ตอนล่าง พร้อมกำหนดจุดเสี่ยง และเร่งกำจัดวัชพืชตามลำน้ำเพื่อให้การระบายน้ำทำได้ดี

ทั้งนี้ รองอธิบดีกรมชลประทาน ได้เน้นย้ำให้เร่งดำเนินการโครงการฯต่างๆ ให้แล้วเสร็จ ตามแนวทาง RID no1 express และปฏิบัติตามแนวทางการบริหารจัดการน้ำในทุกสถานการณ์ตามที่กรมกำหนด พร้อมสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนด้วยการสร้างเครือข่ายอาสาสมัครชลประทาน เพื่อเป็นกระบอกเสียง สร้างการรับรู้ เพิ่มความเข้าใจถึงสถานการณ์น้ำ ร่วมกันการบริหารจัดการน้ำระหว่างรัฐและชุมชน เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำทุกด้านในระดับท้องถิ่นมีประสิทธิภาพสูงสุด
ต่อจากนั้น รองอธิบดีกรมชลประทานและคณะ เดินทางต่อไปยัง บ้านหนองโพธิ์ ต.หนองกระเบียน อ.บ้านหมี่ เพื่อพบปะกลุ่มผู้ใช้น้ำ และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำปัจจุบัน พร้อมรับฟังความต้องการของพี่น้องเกษตรกร เพื่อร่วมกันบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ต่อไป

No Comments

    Leave a Reply