News

ปริมาณน้ำลุ่มเจ้าพระยาอยู่ในเกณฑ์น้อย ขอประชาชนใช้น้ำตามแผน ลดขาดแคลนน้ำในอนาคต

15/12/2019

ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
4 เขื่อนหลัก ลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำเก็บกักรวมกัน 11,412 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 46 ของความจุอ่าง เป็นน้ำใช้การได้ 4,716 ล้าน ลบ.ม.
คิดเป็นร้อยละ 26 ของความจุอ่าง
ด้านสถานการณ์น้ำท่าในลุ่มน้ำเจ้าพระยา แม่น้ำปิง ปริมาณน้ำไหลผ่านที่สถานี P.17 อ.บรรพตพิสัย
จ.นครสวรรค์ วัดได้ 39 ลบ.ม./วินาที (เมื่อวาน 42 ลบ.ม./วินาที) แม่น้ำน่าน ปริมาณน้ำ
ไหลผ่านที่สถานี N.67 อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ วัดได้ 91 ลบ.ม./วินาที (เท่ากับเมื่อวาน)
แม่น้ำเจ้าพระยา ปริมาณน้ำไหลผ่านที่สถานี C.2 อ.เมืองนครสวรรค์ วัดได้ 149 ลบ.ม./วินาที (เมื่อวาน 151 ลบ.ม./วินาที) ไหลผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา (C.13) ในอัตรา 75 ลบ.ม./วินาที (เท่ากับเมื่อวาน) ไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านสถานีวัดน้ำ
อ.บางไทร (C.29A) มีปริมาณน้ำไหลผ่านเฉลี่ย 97 ลบ.ม./วินาที (เมื่อวาน 98 ลบ.ม./วินาที)
รวมรับน้ำเข้าฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก ในปริมาณ 59 ลบ.ม./วินาที ส่วนแม่น้ำป่าสัก ระบายน้ำท้ายเขื่อนพระรามหก 5.14 ลบ.ม./วินาที (เมื่อวาน 5.28 ลบ.ม./วินาที)

เนื่องจากสภาพน้ำต้นทุนมีจำกัด ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนปฏิบัติตามแผนอย่างเคร่งครัดเพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้กำหนดมาตรการในการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยเปิดรับน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศลำน้ำหรือคลองส่งน้ำ ที่มีความจำเป็นต้องรับน้ำเข้า เพื่อรักษาเสถียรภาพของตลิ่งลำน้ำตามแผนการรับน้ำเท่านั้น ด้านสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าให้สูบน้ำตามความจำเป็นเพื่อใช้สำหรับการอุปโภคบริโภคและต้องเป็นไปตามแผนรอบเวรการสูบน้ำที่กำหนดไว้ ส่วนสถานี
สูบน้ำของการประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค และการประปาส่วนท้องถิ่น สามารถทำการสูบน้ำได้ตามปกติตามแผนการสูบน้ำ อีกทั้ง ขอความร่วมมือลดการเพาะเลี้ยงในบ่อปลา บ่อกุ้ง เขตโครงการชลประทานลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลดการเพาะเลี้ยงปลาในกระชัง ในแม่น้ำปิง แม่น้ำน่าน แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย
แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำท่าจีนและในระบบชลประทานตลอดฤดูแล้ง นอกจากนี้ ยังให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังและควบคุมไม่ให้มีการปล่อยน้ำเสียลงในแม่น้ำ คู คลอง และแหล่งน้ำต่างๆ เนื่องจากทำให้ต้องระบายน้ำเพิ่มขึ้นเพื่อเจือจางน้ำเสีย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำที่ต้องสำรองไว้ให้เพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศจนถึงต้นฤดูฝนหน้า

No Comments

    Leave a Reply