News

“มกอช.” เกาะติดเทรนด์สุขภาพ รุกสร้างการรับรู้มาตรฐานสินค้าเกษตรภายใต้ “สัญลักษณ์ Q”

12/09/2019

“มกอช.” เกาะติดเทรนด์สุขภาพ จัดกิจกรรมสร้างการรับรู้มาตรฐานสินค้าเกษตรภายใต้ สัญลักษณ์Q” หวังกระตุ้นผู้ผลิต-ผู้บริโภค-ผู้จำหน่ายเห็นความสำคัญชี้เป็นสัญลักษณ์แห่งคุณภาพและมาตรฐานปลอดภัยจากสารตกค้าง ปนเปื้อน ช่วยปกป้องและคุ้มครองผู้บริโภคให้มีสุขภาพดี เพิ่มโอกาสและช่องทางการจำหน่ายสินค้าทั้งในและต่างประเทศ เผยล่าสุดจัดทำมาตรฐานบังคับสำเร็จ 6 เรื่องและมาตรฐานทั่วไป 117 เรื่อง

 นายกฤษ อุตตมะเวทิน เลขานุการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ(มกอช.)กล่าวว่า  ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มียุทธศาสตร์ความปลอดภัยด้านอาหาร  เพื่อยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตรและอาหารทั้งที่ส่งออกและบริโภคภายในประเทศของไทยให้มีมาตรฐานและความปลอดภัยสอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ประกอบกับปัจจุบันผู้บริโภคได้หันมาให้ความสำคัญกับใส่ใจสุขภาพจนกลายเป็นแทรนด์ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั่วโลก

    ดังนั้น มกอช.ในฐานะที่เป็นองค์กรนำด้านมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารของประเทศยอมรับ  ซึ่งทำหน้าที่เสริมสร้างและกำหนดมาตรฐาน  ระบบตรวจสอบและรับรองสินค้าเกษตรและอาหารให้สอดคล้องกับแนวทางสากล จึงได้จัดโครงการประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้เกี่ยวกับมาตรฐานสินค้าเกษตรและเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรภายใต้“สัญลักษณ์Q”  เพื่อตอกย้ำให้เกษตรกร  ผู้ประกอบการจำหน่ายและผู้บริโภคเห็นถึงความสำคัญและยอมรับในเครื่องหมายดังกล่าวอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้นไปอีก

      สำหรับ  เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรภายใต้สัญลักษณ์Q”    ถือเป็นเครื่องหมายรับรองสินค้าเกษตรที่ผ่านการตรวจสอบรับรองมาตรฐานตามบทบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551   เพื่อรับรองแหล่งกำเนิด   ส่วนประกอบ  วิธีการผลิต  คุณภาพ หรือคุณลักษณะอื่นใดของสินค้าเกษตร ซึ่งมีสำคัญในการสื่อสารข้อมูลไปยังผู้บริโภคหรือผู้ซื้อให้เกิดการยอมรับ เชื่อมั่นและเชื่อถือต่อสินค้าเกษตรว่ามีมาตรฐาน คุณภาพและความปลอดภัย

   “ มกอช.ต้องการประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคมีความรู้ ความเข้าใจ ในการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัย เพื่อลดการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากการบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์หรือสารเคมี พร้อมทั้งต้องการให้เกษตรกรและผู้ประกอบการได้เห็นความสำคัญในการผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพปลอดภัยจากสารตกค้าง ซึ่งที่ผ่านมามกอช.ได้ให้ความสำคัญในการสร้างการรับรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้บริโภคมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร โดยขอความร่วมมือกับทางภาคเอกชน ผู้ประกอบการค้าประเภท Modern trade เช่น ท็อปส์ บิ๊กซี เดอะมอลล์ แม็คโครรวมถึงตลาดสดต่าง ๆ ผ่านทางสมาคมตลาดสด ฯลฯ  เพื่อให้ช่วยกันสนับสนุนส่งเสริมการขายสินค้าเกษตรและอาหารที่มีเครื่องหมาย โดยเปิดให้มีมุมจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมาย ซึ่งนับว่าเป็นการเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับสินค้าดีมีคุณภาพให้มากยิ่งขึ้นและผู้บริโภคก็สามารถเลือกหาซื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ความปลอดภัยและมีมาตรฐานได้มากขึ้นและง่ายขึ้น ” นายกฤษ  กล่าว

นายกฤษ  กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันกำหนดเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรมี 2 แบบด้วยกัน คือ1.เครื่องหมายรับรองมาตรฐานบังคับ ใช้สำหรับแสดงกับสินค้าเกษตรที่ได้รับใบรับรองตามมาตรฐานบังคับ2.เครื่องหมายรับรองมาตรฐานทั่วไปใช้สำหรับกับสินค้าเกษตรที่ได้รับใบรับรองตามมาตรฐานทั่วไป   โดยผู้ได้รับใบรับรองเครื่องหมายดังกล่าวได้แก่  เกษตรกร  ผู้ประกอบการในฐานะผู้ผลิต ผู้ส่งออกหรือผู้นำเข้าเท่านั้น

ส่วนมาตรฐานบังคับปัจจุบันมีจำนวน เรื่อง ได้แก่ 

1.หลักปฏิบัติสาหรับกระบวนการรมผลไม้ สดด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 

2.เมล็ดถั่วลิสง: ข้อกำหนดปริมาอะฟลาทอกซิน 

3.การปฏิบัติที่ดีสาหรับการผลิตทุเรียนแช่เยือกแข็ง 

5.การปฏิบัติที่ดีสาหรับศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ 

6.การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้าที่ดีสาหรับฟาร์มผลิตลูกกุ้งขาวแวนนาไมปลอดโรค   

นอกจากนี้ มกอช.ได้ประกาศมาตรฐานสินค้าเกษตร ตาม พ.ร.บ. มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551แล้ว จำนวนทั้งสิ้น   322   เรื่อง  ได้แก่  มาตรฐานสินค้า  117  เรื่อง   มาตรฐานระบบการผลิต  158  เรื่องและมาตรฐานข้อมูลกำหนดทั่วไป  47  เรื่อง  

นายกฤษ กล่าวย้ำด้วยว่า ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้ “Q” ต้องรักษาคุณภาพ ความปลอดภัยและได้มาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ เพราะหน่วยงานที่ให้การรับรองจะทำการติดตามตรวจสอบเป็นระยะ หากพบว่าไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือไม่รักษาคุณภาพ ความปลอดภัย ตามมาตรฐาน จะถูกยกเลิกการใช้ “Q” ฉะนั้นสำหรับผู้บริโภคที่ต้องการเลือกหาสินค้าคุณภาพ ปลอดภัย ได้มาตรฐาน ต้องเลือกสินค้าที่มี เท่านั้น  สำหรับ วิธีการแสดงหรือใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรภายใต้สัญลักษณ์และจะแสดงไว้ที่สิ่งบรรจุ หีบห่อ  สิ่งหุ้มห่อ สิ่งผูกมัด หรือป้ายของสินค้าอีกด้วยก็ได้   โดยใต้สัญลักษณ์จะแสดงรายละเอียด3อย่างคือรหัส ชื่อผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน  รหัสมาตรฐานสินค้าเกษตรที่ให้การรับรองและรหัสชื่อผู้ได้รับใบรับรอง  

  “ประโยชน์อีกด้านของการตราเครื่องหมาย คือ ทำให้ประชาชนมีทางเลือกเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนสามารถตามสอบแหล่งที่มาของสินค้าทั้งในกรณีปกติ และกรณีพบว่าสินค้ามีปัญหาจะได้รับการคุ้มครองสิทธิ์ในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าเกษตรและจะได้รับการคุ้มครองกรณีที่พบว่าสินค้าที่ได้รับการรับรองและแสดงเครื่องหมายรับรองไม่ปลอดภัยหรืออาจก่อให้เกิดอันตราย   จะมีการประกาศแจ้งเตือนหรือมีการสั่งให้เก็บหรือทำลายหรือส่งกลับคืนสินค้าดังกล่าว หรือหากตรวจพบการปลอมแปลงการใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าจะได้รับการคุ้มครองโดยการลงโทษตามบทบัญญัติของกฎหมายต่อผู้ฝ่าฝืน   มีโทษจำคุกไม่เกิน 3ปีหรือปรับไม่เกิน 300,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

No Comments

    Leave a Reply