News

“เฉลิมชัย” สั่ง “อลงกรณ์” ลุยพิสูจน์ ไร่อ้อยชาวสุพรรณ หลังพบมีการ ใช้ “จุลินทรีย์ ชีวภัณฑ์ กำจัดวัชพืชในไร้อ้อยได้ผลจริง

11/11/2019

ก่อนเดินหน้าหาทางออกใช้แทน สารเคมี หลัง แบน 3 สารเคมี หากใช้ได้ผลจริงพร้อมเสนอ เข้าที่ประชุม 14 พ.ย.นี้ ด้านนักวิจัยเผย หาก รัฐจริงใจต้องหนุนให้มีการผลิตให้เกษตรกรใช้จริง หลังก่อนหน้านี้ขอขึ้นทะเบียน กรมวิชาการไม่สนใจอ้างขึ้นทะเบียนไม่ได้ ทำให้ไทยล้าหลัง เพราะหลายประเทศ ใช้ กันเกลื่อน ทั่วโลก

เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน นาย อลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษา รมว. เกษตรฯ พร้อมด้วยนายวรยุทธ บุญมี ผอ. กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืนและ เจ้าหน้าที่ กนท.กกส.และกษ.สุพรรณบุรี และตัวแทนนักวิจัย เอกชน ที่ร่วมกันศึกษา“จุลินทรีย์ ชีวภัณฑ์ “ ร่วมกับ ม. แม่โจ้ ได้ ร่วมกันเข้า ตรวจสอบ แปลงอ้อยอินทรีย์ของ นายสุรินทร์ ขันทอง บ้านหนองมะค่าโหม่ง ต.หนองมะค่าโหม่ง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี ซึ่งมีการปลูกอ้อยอินทรีย์600ไร่โดยใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดวัชพืช เพื่อเป็นการพิสูจน์ ว่าสามารถใช้ได้ผลจริงหรือไม่ หลังจากพบว่า พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ มีการกำจัดวัชพืชที่ ใช้ “จุลินทรีย์ ชีวภัณฑ์” และไม่มีการใช้สารเคมีทั้งนี้ นายอลงกรณ์ เปิดเผยว่า นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว. เกษตรฯ ได้การให้ตนพร้อม ตนแทนจากกระทรวงเกษตรฯ ลงตรวจสอบข้อมูลหลังจากที่ผ่านมา มีการเสนอข้อมูลจากนักวิจัยเอกชน บางกลุ่มที่ทำงานวิจัยร่วมกับ ม. เกษตรแม่โจ้ แจ้งว่ามีการศึกษาวิจัย เรื่องการ “จุลินทรีย์ ชีวภัณฑ์ “ ที่นำมาใช้ในการทำการเกษตรทั้งระบบและสามารถใช้ได้ผลจริง ตั้งแต่การปรับปรุงบำรังดินที่เคยใช้สารเคมี ให้กับมาเป็นดินที่ไม่มีสารเคมีตกค้าง ขณะเดียวกันยังมีการศึกษา เรื่องการใช้ “จุลินทรีย์ ชีวภัณฑ์ “ ในการกำจัดวัชพืช ได้จริง โดยก่อนหน้านี้ นาย เฉลิมชัย รมว. เกษตรฯ ได้สั่งให้มีการตั้งคณะทำงานได้ ศึกษา ในการหา สิ่งทดแทน ที่จะเข้ามาช่วยเหลือเกษตรกรหลังจากที่คณะกรรมกมรวัตถุอันตราย มีมติให้มีการแบน 3สาร เคมี ที่เป็น สารเคมี ที่ใช้ในการกำจัดวัชพืช ซึ่งและแมลง ซึ่งหากไม่มีสิ่งทดแทนที่ชัดเจน อาจสร้างปัญหาให้กับเกษตรกรได้ จึงตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาและหาทางออก กับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทั้งระบบ

โดยหลังจากมีนักวิจัยกลุ่มหนึ่งได้นำข้อมูลที่มีการศึกษาวิจัยมาให้กระทรวงเกษตร พิจารณาส่งเสริมให้มีการผลิต “ “จุลินทรีย์ ชีวภัณฑ์ “ และมีการใช้ จริงในพื้นที่ สุพรรณบุรี จึงลงตรวจสอบในพื้นที่ และจาการสอบถามข้อมูลทั้งจาก กลุ่มนักวิจัย และ ผู้ใช้ จริงก็ พบว่าที่ผ่านมา จุลินทรีย์ และชีวิภัณฑ์ ที่มีการผลิต มีการใช้ ในกลุ่มคนบางกลุ่ม เพราะมีปัญหาเรื่องการขึ้นที่ทะเบียนของทางกรมวิชาการเพราะ กรมวิชากการจะมี การขึ้นทะเบียนให้เฉพาะชีวภัณฑ์เชิงเดี่ยว เท่านั้น จึงติดเงื่อนไขการขึ้นทะเบียน ทั้งหมด เพราะจุลินทรีย์ ชีวภัณฑ์ ที่ทดลองใช้ เป็นเชิงอนุพันธ์ จึงมีปัญหา เพราะตามกฎหมายในการขึ้นทะเบียน และ ชีวภัณฑ์ ทางเลือกทุกชนิดที่จะสามารถจำหน่ายได้ ต้องการผ่านการรับรองจากกรมวิชาการทั้งหมด เพื่อให้การคุ้มครองเกษตรกร เช่นเดียวกับสารเคมีทั้งหมดเช่นเดียวกัน

ย่างไรก็ตาม การประชุมคณะกรรมการ ศึกษา ผลกระทบ ที่มีการประชุมครั้งแรก ก็ พบว่า หลังมีการแบน สารเคมี 3 ชนิด ที่ผ่านมา ยังไม่มีการเตรียมพร้อมเรื่องสิ่งทดแทน ในส่วนสารเคมีที่ถูกแบน จึงได้สั่งการ ให้ทางกรมวิชาการเสนอทางเลือก เข้ามา ปรากฏว่า ในส่วนของกรมวิชการการเสนอมา ส่วนใหญ่เป็นสารเคมี ซึ่งเป็นเรื่องที่ ไม่น่าจะเหมาะสม เมื่อ แบน สารเคมี และ ต้องการยกเลิกการใช้สารเคมี ก็ ไม่ควรนำสารเคมีมาทดแทน หลังจากการตรวจสอบก็ พบว่า มี จุลินทรีย์ ชีวภัณฑ์ ที่ เป็น ทางเลือกอีกทางไม่มีการเสนอมา จึงได้มีการสอบถาม ก็ พบว่า ยังไม่เคยมีการขึ้นทะเบียนรับรอง จึงไม่สามารถเสนอ ต่อที่ประชุมได้ แต่ ในที่ประชุม ก็ ได้มีการนำเสนอข้อมูลจาก ทางนายวรยุทธ บุญมี ผอ. กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน หรือ กนท.ว่ามีจุลินทรีย์ ชีวภัณฑ์ ที่มีการใช้จริง ตนจึงเข้ามาตรวจสอบ เพื่อสรุปข้อมูลต่อที่ประชุมอีกครั้ง ซึ่งจะมีการประชุม ในวันที่14 พฤศจิกายน นี้ โดยจากข้อมูลที่มีการสอบถาม นักวิจัย และเกษตรกรที่ใช้จริง พบว่า มีต้นทุนการผลิต โดย เฉลี่ย พอกับ ต้นทุน ของสารเคมีที่คณะกรรมการวัตถุอันตรายที่แบนก่อนหน้านี้ แต่มีข้อดีคือ ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศน์ ทั้งหมด ซึ่งปลอดภัย สามารถพิสูจน์ ได้

อย่างไรก็ตามจากข้อมูลดังกล่าว ตนได้มอบหมายให้ทาง นายวรยุทธ บุญมี ผอ. กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน สรุป เสนอ ต่อที่ประชุม เพื่อพิจารณาเป็นทางเลือกในการช่วยเหลือเกษตรกร ต่อไป ซึ่งขณะนี้กระทรวงเกษตรกำลังเร่งหาทางช่วยเหลือเกษตรกร โดยรวมหากสามารถ ขึ้นทะเบียน และรับรองได้ ก็ น่าจะเป็นทางออกเรื่องต้นทุนให้กับเกษตรกรอีกทาง

“ ตอนนี้กระทรวงเกษตรฯ กำลัง หาทางที่จะช่วยเกษตรกร ทั้งหมด ที่ได้รับผลกระทบจากการแบนสารเคมีทั้ง3สาร วันนี้ ในมีข้อเสนอที่ดี ไม่ใช่เฉพาะชีวภัณฑ์ ก็ เสนอและมาให้ข้อมูลที่กระทรวงเกษตรได้ เพื่อเราจะนำเสนอต่อที่ประชุม เมื่อ ต้องการ จะยกเลิกการใช้สารเคมี ก็ ไม่ควรจะใช้เคมีเข้ามาทดแทน อีก หากยังเสนอ สารเคมมีมาเป็นทางเลือกอีก กระทรวงเกษตรจะตอบสังคมได้อย่างไร ซึ่งหาก จุลินทรีย์ ได้ได้ผลจริง และมีการตรวจสอบรับรอง ได้ ก็ น่าจะเป็นทางเลือกได้อีกทาง ซึ่งนโยบายของ รัฐบาลและรัฐมนตรีว่าการประทรวงเกษตรก็ชัดเจนว่า ต่อการ ส่งเสริมเรื่องเกษตรอินทรีย์ เป็นหลัก ซึ่งตองสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชน ทั้งหมด นายอลงกรณ์ กล่าว

นายอลงกรณ์ กล่าวด้วยว่าในส่วน แนวคิดที่จะมีการจัดตั้งองค์ขึ้นมาบริหารจัดการเรื่องเกษตรอินทรีย์ ให้ชัดเจน ในส่วนตนเห็นว่าดี และมีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูง เนื่องต้องการส่งเสริมให้มีการผลิตสินค้าเกษตรกรอินทรีย์ ที่ยั่งยืน ในอนาคต ซึ่งคาดว่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการส่งเสริมการสร้างรายได้อย่างยั่งยืนในอนาคตด้วย

นายสุรินทร์ ขันทอง เกษตรกร เจ้าของแปลงไร่อ้อย กล่าวว่า เดิมตนใช้ เคมี และมีปัญหาเรื่องต้นทุนการผลิตค่อนข้างเยอะ ขณะเดียวกันก็ มีวัชพืช จำนวนมาก ก็ พยายามแก้ปัญหามาหลายวิธี จน มาพบชีวภัณฑ์ทางเลือก ตามที่ มีการแนะนำ จึง ลองใช้ดู หลังจากใช้มานานกว่า 7ปี ก็ พบว่า การกำจัดวัชพืช สามารถ แก้ปัญหาได้ทั้งระบบ และ มีสุขภาพแข็งแรง ระบบนิเวศ กลับมาดีเหมือนเดิม จึงเลือกใช้มาตลอด แต่ ขณะนี้ยอมรับว่า ยังไม่ได้มีการใช้แพร่หลาย เนื่องจาก ยังไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนรับรองอย่างเป็นทางการ ซึ่งหากภาครัฐ มีการขึ้นทะเบียน ให้ คาดว่าน่าจะเป็นทางเลือกให้เกษตรกร ได้มากขึ้น ด้วย จึงอยากของให้ภาครัฐพิจารณา ในเรื่องนี้ด้วย

ด้านนายนายฐปนรมย์ แจ่มใส นักวิจัย อิสระ ร่วมกับ. ม แม่โจ้เปิดเผยว่า จากที่ตน ที่ทำหนังสือ ถึงนายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อขอเข้าให้ข้อมูลจากทางกระทรวงเกษตรฯ เรื่องการใช้จุลินทรีย์เพื่อกำจัดวัชพืชในการประกอบอาชีพทางการเกษตรกรรม ตามที่กระทรวงเกษตรฯประกาศนโยบายเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์ และผลักดันยกเลิกการใช้3สารเคมี ทั้งหมดเพื่อเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกร หากต้องการ ยกเลิกการใช้สารเคมีจริง ก็ ควรจะใช้ จุลินทรีย์ ชีวภัณฑ์ ไม่ใช่สารเคมีมาทดแทน โดยที่ผ่านมา

ตนได้ มีการศึกษาวิจัย ร่วมกับ ม. แม่ โจ้ และใช้ในแปลงทดลอง และ ท้าพิสูจน์ ว่าได้ผลจริง ตนจึงพา ตัวแทนจากกระทรวงเกษตรมาดู แปลงทดลอง เพื่อให้เห็นชัดเจนจากนี้ไปคงขึ้นอยู่กับทางกระทรวงเกษตรว่าจะขับเคลื่อนอย่างไร หากมีข้อสงสัยตนพร้อมจะให้ความร่วมหรือทดลอง ในทุกด้าน

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา ตนได้ขอขึ้นทะเบียน กับทางกรมวิชากการมาโดยตลอดเพื่อเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกร ได้ได้รับการปฎิเสธ ว่าไม่สามารถ ขึ้นทะเบียนได้ ทั้งที่ต่างประเทศ สามารถ ขึ้นทะเบียนได้ทั้งหมด รวมทั้งส่งเสริมการผลินสินค้าเกษตรอินทรีย์ เพื่อจำหน่าย และสร้างรายได้มหาศาล และที่ผ่านมา ตนก็ เป็นที่ปรึกษาให้กับกลุ่มเกษตรกรและผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ หมาหลายประเทศ จึงไม่อยากเกษตรกรไทยเสียโอกาส

/////////////////

No Comments

    Leave a Reply