News

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ดันอาชีพเสริมสวยเสริมแกร่งพร้อมก้าวสู่ Thailand 4.0

04/12/2019


ดร.นพดล ปิยะตระกูล รองผู้อำนวยการ รักษาการผู้อำนวยการ สถาบันคุณวุฒวิชาชีพ กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ จัดทำมาตรฐานอาชีพสาขาวิชาชีพ สาขาธุรกิจเสริมสวย ระยะที่ 2 ณ โรงแรมเซ็นทาราศูนย์ราชการ ศูนย์วายุภักดิ์ กรุงเทพฯ ว่า อาชีพด้านการเสริมสวย ไม่ว่าจะเป็นอาชีพช่างทำผม ช่างแต่งหน้า หรืออาชีพอื่นๆ ในด้านการเสริมสวย ถือเป็นอีกธุรกิจบริการหนึ่งที่สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชากรและประเทศชาติอย่างมหาศาล และค่อนข้างเป็นที่ยอมรับถึงคุณภาพฝีมือท่ามกลางกลุ่มประเทศอาเซียน แต่ทั้งนี้ จุดอ่อนของผู้ประกอบการเสริมสวย หรือ ผู้ที่ประกอบอาชีพ คือ ขาดการบริหารจัดการร้านอย่างเป็นระบบ ขาดการพัฒนาสมรรถนะอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ อาชีพช่างเสริมสวยยังขาดมาตรฐานที่ชัดเจนในการประเมินคุณภาพงานบริการ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่จะมีส่วนพัฒนามาตรฐานการให้บริการของช่างทำผมให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นนั่นเอง ไม่ว่าคนไทยจะไปทำงานภายนอกประเทศในกลุ่ม AEC หรือ คนต่างประเทศในกลุ่ม AEC จะเข้ามาทำงานภายในประเทศไทย หากประเทศไทยมีการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการ หรือผู้ประกอบอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะลดความเสี่ยงต่อผลกระทบในทางลบได้เป็นอย่างดี และอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน สร้างผลประโยชน์ต่อประชากร และประเทศชาติต่อไป
นอกจากนี้ กระแสและอิทธิพลจากสื่อสารสนเทศต่าง ๆ ในเรื่องของแฟชั่นและการก้าวตามของสังคมไทย ทำให้คนทั่วไปสนใจดูแลตนเอง และใช้บริการร้านเสริมสวยมากขึ้น ทั้งตัดผม ทำผม และบริการต่าง ๆ จึงเกิดผู้ประกอบการใหม่ ที่เป็นธุรกิจร้านเสริมสวยขึ้นมากมาย ทั้งร้านขนาดเล็กและขนาดใหญ่ รวมถึงร้านเสริมสวยที่มีชื่อเสียงจากต่างประเทศเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยโดยใช้ระบบแฟรนไชน์ ร้านเสริมสวยจึงกระจายตัวให้บริการอยู่ทุกหนทุกแห่งและกลายเป็นอาชีพที่ได้รับความนิยม เนื่องจากผลตอบแทนที่ได้รับคุ้มค่ากับการลงทุน ลงแรง และที่สำคัญเป็นอาชีพที่ช่วยให้แม่บ้านหรือวัยหนุ่มสาวทำงานอยู่กับบ้านได้ ดังนั้น รายได้หรือเม็ดเงินจากธุรกิจนี้จึงหมุนเวียนอยู่ภายในประเทศหล่อเลี้ยงประชาชนของประเทศ ตลอดจนสามารถช่วยกระตุ้นระบบเศรษฐกิจได้อีกทางหนึ่ง และยังสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศทั้งจากการเข้ามาดำเนินการของนักธุรกิจต่างประเทศและจากการคาดการณ์ในอนาคตอันใกล้ที่เกิดจากการที่ฝีมือการทำผมของคนไทยได้รับการยอมรับในระดับโลก อาชีพนี้จึงทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ

ด้าน รศ.ดร.เนตร์พัณณา ยาวิราช ผู้จัดการโครงการจัดทำมาตรฐานอาชีพสาขาวิชาชีพ สาขาธุรกิจเสริมสวย ระยะที่ 2 สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) กล่าวเพิ่มเติมว่า การพัฒนากำลังคนให้มี “สมรรถนะ” อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จำเป็นที่จะต้องมีกลไกระบบการวัดที่มี “มาตรฐาน” เป็นระบบ ซึ่งระบบคุณวุฒิวิชาชีพที่เป็นมาตรฐานสากลจะสร้างความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือให้แก่กลไกการวัดที่เป็นมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับทั้งจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ ทั้งนี้ จุดเริ่มต้นของการสร้างกลไกของระบบการวัดสมรรถนะที่มีมาตรฐาน คือการกำหนดระดับสมรรถนะ(ความรู้ ทักษะ เจตคติ) ของบุคคลในการประกอบอาชีพให้สอดคล้องความต้องการของสถานประกอบการ ได้แก่ มาตรฐานอาชีพ ซึ่งสถาบันฯ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม ผู้ประกอบอาชีพมีส่วนร่วมในการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ โดยปัจจุบัน มีการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพไปแล้วกว่า 600 อาชีพ ใน 53 กลุ่มสาขาวิชาชีพ และดำเนินการประเมินสมรรถนะของบุคลากรวิชาชีพต่างๆ ไปแล้วกว่า 100,000 คน

เพื่อให้มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพเป็นที่ยอมรับจากทุกภาคส่วนในระดับประเทศและระดับสากล ยกระดับสมรรถนะในการทางานของกลุ่มอาชีพให้มีความทันสมัย ทันต่อเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับและเตรียมพร้อมกาลังคนสู่ Thailand 4.0 ส่งเสริมการผลิตและพัฒนากำลังคนทีให้สอดคล้องกับทิศทางการและพัฒนาของประเทศ ในปี 2563 สถาบันฯ มีแผนที่จะดำเนินโครงการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ ในสาขาวิชาชีพต่างๆ ซึ่งรวมถึง สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวย ระยะที่ 2 เช่นกัน โดยนับตั้งแต่ปี 2558 สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ได้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวย อาชีพช่างทำผมบุรุษ และอาชีพช่างทำผมสตรี ซึ่งเป็นมาตรฐานอาชีพที่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบัน มีผู้เข้ารับการประเมินสมรรถนะฯ ในอาชีพดังกล่าว กว่า 3,000 คน และมีการนำมาตรฐานอาชีพ ไปใช้ในการสมัครงาน การทำงานต่างประเทศ การต่อยอดธุรกิจด้วยวงเงินสินเชื่อ และการนำไปสู่ภาคการศึกษา ทั้งนี้

การดำเนินการโครงการดังกล่าวเพื่อกำหนดระดับสมรรถนะของผู้ประกอบอาชีพในกลุ่มอาชีพด้านธุรกิจเสริมสวย เพิ่มเติมจากอาชีพช่างทำผม (เช่น กลุ่มอาชีพด้านการแต่งหน้า การเสริมความงาม เป็นต้น) เป็นมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ ที่สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ สอดรับกับพลวัตการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ด้วยวิธีการที่เป็นสากล เพื่อพัฒนารูปแบบ วิธีการ และเครื่องมือเพื่อการประเมินสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพสำหรับกลุ่มอาชีพด้านธุรกิจเสริมสวย เพิ่มเติมจากอาชีพช่างทำผม สาหรับใช้ในการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อการยอมรับในระดับสากล สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการกำหนดค่าตอบแทนได้ตรงตามสมรรถนะทางวิชาชีพที่ทำงานได้จริง ต่อยอดธุรกิจด้วยวงเงินสินเชื่อ สร้างผลิตผลที่มีมาตรฐานและข้อได้เปรียบทางการตลาด สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน สถาบันการศึกษาสามารถนำมาตรฐานอาชีพไปปรับเกณฑ์การเรียนรู้สู่ผลลัพธ์การทำงานที่ดี โดยนำสมรรถนะวิชาชีพมาปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้เป็นระบบฐานสมรรถนะ เพื่อสร้างบัณฑิตและเตรียมกาลังคนให้มีสมรรถนะวิชาชีพตอบโจทย์ตลาดแรงงานสากล ประเทศชาติก็จะมีกำลังคนที่มีศักยภาพในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศและเกิดการยอมรับความสามารถของบุคลากรของไทยทั้งในประเทศและระดับสากล เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานต่อไปในอนาคต

No Comments

    Leave a Reply