นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ หรือ SACICT กล่าวว่า เพื่อกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่เห็นความสำคัญของงานศิลปหัตถกรรมไทยและเกิดแรงบันดาลใจสู่การต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ ได้จัดแสดงนิทรรศการ. Innovative craft Award 2019 ภายในงาน SACICI Crafttrend Show 2019 ขึ้นเมื่อระหว่างวันที่ 18-21 มิถุนายน 2542 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ (ตั้งอยู่ในศูนย์ราชการ เฉลิมพระเกียรติ แจ้งวัฒนะ)
โดยในงานดังกล่าว ได้มีการประกวดผลงานการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ ศิลปหัตถกรรมเชิงสร้างสรรค์ของนักออกแบบรุ่นใหม่ ซึ่งในปีนี้มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 127 ผลงาน และมีผู้ผ่านเข้ารอบสุดท้าย จำนวน 6 ผลงาน สำหรับ ผลงานผู้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายทั้ง 6 ผลงานเป็นงานคราฟท์ที่สะท้อนถึงแนวคิดและตอบโจทย์ของผู้บริโภคยุคใหม่ที่ต้องการมากกว่าการครอบครองวัตถุ แต่คือการได้ครอบครองและสัมผัสกับประสบการณ์เหนือจริง (Surreal Hospitality) ที่แตกต่างจากความคุ้นเคยในชีวิตประจำวัน เราเชื่อว่าผู้บริโภคสมัยใหม่ที่โหยหาประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ไม่เหมือนใครจะตื่นตาตื่นใจเมื่อได้มาชมอย่างแน่นอนทั้งนี้ สำหรับบแนวคิด “Surreal Hospitality (เปิดประสบการณ์เหนือจริงงานนวัตศิลป์ไทย)” เชื่อว่านิยามของความหรูหราได้ขยายขอบเขตจากการครอบครอง “วัตถุ” ไปสู่การครอบครอง “ประสบการณ์ ความสนุกสนานที่เกิดจากการแบ่งปันประสบการณ์บนโลกออนไลน์คือกลไกสำคัญที่กระตุ้นให้ผู้คนอยากสัมผัสงานศิลปหัตถกรรม
โดยเฉพาะงานศิลปหัตถกรรมที่เกิดจากการร่วมมือกันระหว่างผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและโรงแรม นักออกแบบ ศิลปินหรือช่างฝีมือในท้องถิ่นมาร่วมสร้างสรรค์ผลงานอันทรงคุณค่าเพื่อรังสรรค์ให้โรงแรมหรือสถานที่พักผ่อนรูปแบบเดิมกลายเป็นโลกเสมือนในบรรยากาศ “เหนือจริง”ซึ่งแตกต่างไปจากความอบอุ่นคุ้นเคยในชีวิตประจําวันSurreal Hospitality จึงเป็นการเติมเต็มการท่องเที่ยวด้วยสุนทรียภาพของภูมิปัญญาดั้งเดิม สร้างความรู้สึกราวกับเดินเข้าไปในพิพิธภัณฑ์ ที่ผลงานทุกชิ้นกำลังบอกเล่าเรื่องราวในมุมมองแปลกใหม่ให้แขกผู้มาเยือนต้องเหลียวมองงานศิลปหัตถกรรมโดยมีการมอบรางวัลชนะเลิศ ให้แก่นักออกแบบที่เข้าร่วมส่งผลงานประกวด โดยผู้ชนะเลิศ คือ นายโสภณัฐ สมรัตนกุล ผลงาน “จิ บ – เว – ลา”JIB – WAY – LA ได้รับเงินรางวัล จำนวน 100,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ
โดยผลงานชิ้นดังกล่าวมีแนวคิดของการนำเสนอความประทับใจในบรรยากาศริมทะเลเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสรรค์งานออกแบบด้วยช่วงจังหวะของความงามจากห้วงเวลาหนึ่ง สร้างประสบการณ์ของความสงบที่อยู่บนความเคลื่อนไหว ทำให้ชิ้นงานเป็นเหมือนเครื่องบันทึกบรรยากาศริมทะเลเอาไว้ JIB – WAY – LA เป็นชิ้นงานถูกออกแบบให้มีพื้นที่รับแสงและเกิดการสะท้อน ชวนให้นึกถึงผิวน้ำทะเลที่สงบนิ่ง เป็นเหมือนสิ่งเยียวยา และรักษาสภาพจิตใจอันว้าวุ่นให้สงบลง สามารถเข้าถึงสภาวะที่สัมผัสความหยุดนิ่ง ตกอยู่ในภวังค์ ด้วยเทคนิคการเคาะโลหะแผ่นเล็กที่นำมาประกอบกัน
เพื่อสร้างพื้นผิวที่ให้มีความคล้ายผิวน้ำ ผสมผสานกับชรากไม้สักที่เป็นตัวแทนของผืนดิน
ผู้ประกอบการโรงแรม สถานที่ท่องเที่ยว นักออกแบบ ผู้ที่รักงานคราฟท์ และประชาชนทั่วไป สามารถมาร่วมชื่นนสุดยอดผลงานสร้างสรรค์
หัตถศิลป์ไทยร่วมสมัย เพื่อนำแนวคิดไปใช้ในแนวทางต่อยอดเชิงพาณิชย์อันจะเสริมสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับตนเองและประเทศชาติ
ต่อไปในอนาคต ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.sacict.or.th หรือCall Center 1289
No Comments