News

ชป. เดินหน้าปฐมนิเทศ อ่างเก็บน้ำโป่งสามสิบตอนบน บรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ำบางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์

09/06/2022

กรมชลประทาน ร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาจัดประชุมปฐทศและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโครงการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น อ่างเก็บน้ำโป่งสามสิบตอนบน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อชี้แจงที่มา วัตถุประสงค์ ขอบเขตการดำเนินงาน และแผนการดำเนินงานของโครงการต่อกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ตลอดจนรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อแนวทางการศึกษาโครงการ รวมถึงรายละเอียดและขั้นตอนการศึกษาโครงการ

วันนี้ (8 มิ.ย.65) นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ร่วมการประชุมปฐมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น อ่างเก็บน้ำโป่งสามสิบตอนบน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พร้อมด้วย นายธเนศ ดิษฐปัญญา ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน นายประภาศ โต้ตอบ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานประจวบคีรีขันธ์ และผู้เกี่ยวข้อง โดยมี ว่าที่พันตรี อดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นประธาน ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอบางสะพาน อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

สำหรับโครงการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น อ่างเก็บน้ำโป้งสามสิบตอนบน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้กำหนดพื้นที่ศึกษาด้านการบรรเทาอุทกภัยครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาคลองบางสะพานใหญ่และพื้นที่โครงการอ่างเก็บน้ำโปงสามสิบตอนบนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำและพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการฯ ได้แก่ พื้นที่ลุ่มน้ำ พื้นที่รับน้ำ พื้นที่หัวงาน พื้นที่ท้ายน้ำ พื้นที่ชลประทานและพื้นที่อื่นๆ ทั้งนี้ มีพื้นที่ได้รับประโยชน์จากน้ำอุปโภคบริโภค และการเกษตร ครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบล ประกอบด้วย ตำบลทองมงคล ตำบลร่อนกองและตำบลช้างราก ส่วนพื้นที่รับประโยชน์ในการบรรเทาอุทกภัย ครอบคลุมพื้นที่ 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลกำเนิดนพคุณ ตำบลชัยเกษม ตำบลพงศ์ประศาสตร์ และตำบลแม่รำพึง ในเขตอำเภอบางสะพาน ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ในการนี้ รองอธิบดีกรมชลประทาน และผู้เกี่ยวข้อง ได้ลงพื้นที่บริเวณอ่างเก็บน้ำโป่งสามสิบ และจุดทางเลือกที่ตั้งหัวงานอ่างเก็บน้ำโป่งสามสิบตอนบน เพื่อตรวจสอบสภาพพื้นที่และให้ข้อเสนอแนะในการศึกษาโครงการ พร้อมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการวางแผนการบริหารจัดการน้ำท่วมและน้ำแล้งในพื้นที่โครงการและอำเภอบางสะพานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยพิจารณาภาพรวมทั้งระบบให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต สังคมและสิ่งแวดล้อม สามารถเป็นแหล่งน้ำต้นทุนให้กับการอุปโภค บริโภค และการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง ตลอดจนบรรเทาความเสียหายเนื่องจากอุทกภัยในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำคลองบางสะพาน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่โครงการอีกด้วย

No Comments

    Leave a Reply