Daily PR

IT One จัดประกวดแผนธุรกิจครั้งที่ 9 เข้มข้น คัด 40 นักศึกษาชิงชัย ผู้ชนะทีมต่าง ๆ ที่นำเสนอแผนธุรกิจได้ยอดเยี่ยมที่สุด คว้ารางวัลเงินสดไปครองรวม 175,000 บาท

31/05/2019

30 พฤษภาคม 2562 – ไอทีวัน (IT One) จัดประกวดแผนธุรกิจประจำปี “IT One Experience” ครั้งที่ 9 คัดนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายระดับหัวกะทิจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ มาวัดฝีมือในการนำเสนอแผนธุรกิจในการปรับองค์กรสู่ยุคดิจิทัลอย่างเข้มข้นตลอดวัน พร้อมเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในโลกแห่งการเป็นที่ปรึกษาด้านดิจิทัลทุกแง่มุม ให้พร้อมปรับตัวในโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังได้ทำความรู้จักและสร้างเครือข่ายกับเพื่อนต่างสถาบันที่มีความสนใจในด้านเดียวกัน เรียกได้ว่าเป็นกิจกรรมที่ให้ทั้งประสบการณ์และการเรียนรู้ภายในหนึ่งวันเต็ม นอกจากนี้ นักศึกษายังได้สัมผัสกับประสบการณ์จริงที่ไอทีวันได้ช่วยให้ลูกค้าองค์กรต่าง ๆ ปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างสมบูรณ์ ผ่านโมเดลการให้คำปรึกษาที่มีแบบแผน หลักการที่เป็นที่ยอมรับในระดับโลก ผสานกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย

โครงการนี้ยังเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นทำงาน ในการเดินบนเส้นทางสายอาชีพที่ปรึกษากับไอทีวันหรือที่องค์กรอื่น นักศึกษาที่เข้าร่วมแข่งขัน 40 คนมาจากสาขาวิชาด้านธุรกิจและเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย ซึ่งรวมถึง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยมหิดล

ในปีนี้การแข่งขันแผนธุรกิจ IT One Experience เข้มข้นและน่าตื่นเต้นมากขึ้นด้วยประเด็นทันยุค “5 ทักษะจำเป็นสำหรับที่ปรึกษาด้านดิจิทัล” (5 Essential Skills for Digital Consultants) ซึ่งเป็นทักษะหลัก ๆ ที่จำเป็นต้องมีสำหรับการสร้างคุณค่าให้กับลูกค้า และช่วยให้พนักงานปรับขีดความสามารถในการทำงานได้ตามสถานการณ์ในทุก ๆ อุตสาหกรรม ที่สำคัญคือ ทักษะต่าง ๆ เหล่านี้เป็นแนวทางหลักของไอทีวันในปัจจุบัน

5 ทักษะจำเป็นเหล่านี้ ได้แก่

  1. การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เป็นแนวทางที่สร้างสรรค์และให้มนุษย์เป็นศูนย์กลาง เมื่อพิจารณาถึงกรอบโอกาสและการแก้ปัญหาต่าง ๆ
  2. แนวการทำงานแบบอไจล์ (Agile Ways of Working) เป็นแนวทางที่มีการทดลองทำซ้ำ ปรับนำมาใช้ และยืดหยุ่นต่อการวางแผนและพัฒนาต่อยอด
  3. ความสามารถในการใช้ข้อมูล (Data Fluency) เป็นแนวทางการนำข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ มาเป็นตัวขับเคลื่อนในการค้นพบอินไซต์และคุณค่าที่ซ่อนอยู่
  4. การสร้างคุณค่า (Value Creation) เป็นแนวทางที่เน้นผลลัพธ์ เพื่อให้ได้มาซึ่งคุณค่าสำหรับลูกค้า จะช่วยให้ลูกค้ามีโอกาสสร้างคุณค่าทางธุรกิจที่ก่อให้เกิดมูลค่า
  5. การเล่าเรื่อง (Storytelling) เป็นแนวทางนำเสนอแนวคิดที่ซับซ้อนให้สามารถเข้าใจและจดจำได้ง่าย และเหมาะสมกับเป้าหมายผู้รับสารกลุ่มต่าง ๆ

ในระหว่างการแข่งขัน ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้ทักษะทั้งห้าด้านและนำไปใช้ในเวิร์กช็อปของกลุ่ม จึงได้ประสบการณ์ในเชิงปฏิบัติและการนำไปปรับใช้ เสริมสร้างการคิดนอกกรอบ และสามารถนำนวัตกรรมเข้าไปผสานกับสิ่งที่ทำได้ ซึ่งสำคัญมากเมื่อนักศึกษาก้าวเข้าไปสู่โลกการทำงานที่เปลี่ยนแปลงตลอดและรวดเร็ว

“ปีนี้เราได้ยกระดับประสบการณ์การร่วมสร้างสรรค์งาน (co-creation) ของผู้เข้าแข่งขัน โดยให้พวกเขาได้เรียนรู้แนวคิดล่าสุดเกี่ยวกับการคิดเชิงสร้างสรรค์และการปรับองค์กรไปสู่ยุคดิจิทัล เพื่อปลดล็อกศักยภาพคุณค่าที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า และวิธีที่จะนำไปปรับใช้ให้เข้าแผนธุรกิจ เหตุผลที่ใช้แนวทางใหม่นี้ ก็เพื่อทำให้การแข่งขันมีความน่า      ตื่นตาตื่นใจและกระตุ้นให้ผู้แข่งขันกลั่นความคิดสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ แต่ละกลุ่มยังได้รับคำแนะนำจากโค้ชของไอทีวัน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการคัดเลือกมา คร่ำหวอดในด้านนี้ และมีประสบการณ์ในการนำโซลูชั่นดิจิทัลมาปรับใช้ให้เข้ากับองค์กรอย่างช่ำชอง” มร. เทรเวอร์ ออสบอร์น ซีอีโอของไอทีวันกล่าว

“แผนธุรกิจที่เราใช้ในการแข่งขันวันนี้ พัฒนามาจากประเด็นปัญหาธุรกิจจริงที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรม ซึ่งไอทีวันมีความรู้อย่างมาก และมีประสบการณ์ช่วยลูกค้าในอุตสาหกรรมเหล่านั้น โครงการนี้เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เข้าใจ มีส่วนร่วม และผลักดันศักยภาพของตัวเองออกไปให้ถึงที่สุด สามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปปรับใช้กับเคสที่เกิดขึ้นจริง และทำให้เกิดผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ ทักษะทั้งห้าด้านที่เราได้นำมาสอนวันนี้ สามารถนำไปปรับใช้ได้ในสายอาชีพของนักศึกษา ปรับให้เข้ากับจุดแข็งของแต่ละคน ช่วยให้พวกเขามีอาชีพการงานที่ก้าวหน้าได้ นอกจากนี้ ยังเป็นโอกาสที่ดีในการให้นักศึกษาทำงานเป็นทีมร่วมกับเพื่อนที่มาจากหลากหลายสาขา จากต่างมหาวิทยาลัย ช่วยให้เขามีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นจากหลากหลายวัฒนธรรม ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในโลกธุรกิจที่ไม่มีพรมแดนและเชื่อมต่อกันหมด”

ทีมชนะเลิศ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คว้ารางวัลเงินสด 100,000 บาทไปครอง โดยมีโค้ชร่วมยินดี

ทีมรองอันดับหนึ่ง จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คว้ารางวัลเงินสด 50,000 บาทไปครอง

ทีมรองอันดับสอง จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คว้ารางวัลเงินสด 25,000 บาทไปครอง

No Comments

    Leave a Reply