PR NEWS

ซีพีเอฟ ชูฟาร์มและโรงงานอัจฉริยะ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำต่อหน่วยการผลิต

12/11/2021

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ขับเคลื่อนเป้าหมายการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าสูงสุดตลอดกระบวนการผลิต โดยนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยและนวัตกรรมมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ ส่งผลใช้น้ำต่อหน่วยการผลิตลดลง และหมุนเวียนน้ำที่บำบัดแล้วกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ในกระบวนการที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิต

นายพีรพงศ์ กรินชัย รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ด้านวิศวกรรมกลาง ในฐานะประธานคณะทำงานด้านการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ น้ำ และของเสีย ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟ ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพยากร โดยคำนึงถึงประโยชน์และความ
คุ้มค่าสูงสุดตลอดกระบวนการผลิต ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยเฉพาะการบริหารจัดการน้ำที่นำมาใช้เกิดประโยชน์สูงสุด ควบคู่กับการวางแผนการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามหลักการ 3Rs คือ ลดการใช้น้ำ นำน้ำมาใช้ซ้ำ และนำน้ำมาใช้ประ
โยชน์ใหม่ (Reduce Reuse Recycle) ทำให้ในปี 2563 บริษัท ฯ สามารถลดการดึงน้ำมาใช้ต่อหน่วยการผลิตลงได้ถึง 36 % เมื่อเทียบกับปีฐาน 2558 และปริมาณน้ำที่นำมาใช้ซ้ำและใช้ใหม่อยู่ที่ 42 % ของปริมาณน้ำใช้ทั้งหมด ขณะที่ผลการดำเนินงานลดการดึงน้ำมาใช้
ต่อหน่วยการผลิตในปีที่ผ่านมา ทำได้เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในปี 2568 ที่จะลดการนำน้ำมาใช้ต่อหน่วยการผลิตลง 30 %

“ซีพีเอฟ มุ่งมั่นพัฒนาตามแนวทางการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดปริมาณน้ำเสียที่จะเกิดขึ้น รวมไปถึงการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียให้สามารถหมุนเวียนน้ำที่บำบัดแล้ว นำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อบริหารจัดการ
ทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน” นายพีรพงศ์ กล่าว

ซีพีเอฟนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาปรับปรุงกระบวนการผลิต เพื่อบริหารจัดการการใช้น้ำในทุกกระบวนการ อาทิ โรงงานแปรรูปเนื้อไก่โคราชที่นำระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ (Air Chiller) มาใช้แทนระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ (Water Chiller) เพื่อลดอุุณหภููมิ
ซากไก่ สามารถลดการใช้น้ำได้มากกว่า 426,000 ลููกบาศก์เมตรต่อปี การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในกระบวนการผลิตต่างๆ ได้แก่ ระบบทำความเย็น ระบบทำความสะอาดเครื่่องมือและอุุปกรณ์ ระบบทำความสะอาดชุุดทำงานในโรงงานแปรรููปเนื้้อไก่และอาหารแปรรููป
มีนบุรี 1 ช่วยลดการใช้น้ำ 240,000 ลููกบาศก์เมตรต่อปี หรือลดลง 10 % การนำน้ำมาใช้ซ้ำ โดยนำน้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัดแล้วกลับมาใช้ในกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตในธุรกิจอาหารสัตว์บก เช่น รดน้ำต้นไม้ ล้างพื้นถนน เป็นต้น

การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ ด้วยการติดตั้งเทคโนโลยีการกรองน้ำประสิทธิภาพสูงแบบอัลตราฟิลเตรชั่น (Ultrafitration : UF) เพื่อกรองน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้ว และปรับปรุงคุณภาพทำให้ได้น้ำสะอาดหมุนเวียนกลับมาใช้ในกระบวนการผลิต เช่น ทำความสะอาดเครื่องมือและ
อุปกรณ์ หรือแม้กระทั่งการนำระบบกรองน้ำแบบรีเวิร์สออสโมซิส (Reverse Osmosis) เพื่อให้ได้น้ำที่มีคุณภาพสูง สามารถนำไปใช้กับระบบระบายความร้อนในโรงงานแปรรูปเนื้อไก่โคราช ทั้งสองส่วนนี้สามารถลดการดึงน้ำจากภายนอกได้กว่า 720,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี
ในธุรกิจสัตว์น้ำ มีการนำระบบรีไซเคิลมาใช้หมุนเวียนน้ำที่ใช้ในฟาร์มกุ้ง ไม่มีการปล่อยน้ำออกจากฟาร์มสู่สิ่งแวดล้อม (Zero Liquid Discharge) โดยใช้ระบบกรองน้ำแบบอัลตราฟิเตรชั่น (UF) ในการบำบัดน้ำจากแหล่งน้ำภายนอกและน้ำที่ใช้ในการเลี้ยงกุ้ง เพื่อหมุนเวียน
น้ำกลับมาใช้ภายในฟาร์มกุ้ง และขยายผลไปยังธุรกิจอื่นๆ เพื่อบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

นอกจากนี้ ในส่วนของน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้ว บริษัทฯ นำมาหมุนเวียนกลับมาใช้ในกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิต ทั้งในธุรกิจอาหารสัตว์ การเลี้ยงสัตว์บก และธุรกิจอาหาร เช่น รดน้ำต้นไม้ ล้างพื้นถนน และล้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ล่าสุด ในปี 2563
ซีพีเอฟรับการประเมินผลการดำเนินงานภายใต้กรอบของสถาบันประเมินความยั่งยืนที่น่าเชื่อถือระดับโลก โดย CDP ทั้งด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (CDP Climate) ด้านการบริหารจัดการน้ำ (CDP Water) และการบริหารจัดการเพื่อป้องกันการตัดไม้ทำลาย
ป่า (CDP Forest) สะท้อนการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสเพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ช่วยส่งเสริมความน่าเชื่อถือของบริษัทต่อนักลงทุนและผู้มีส่วนได้เสีย

นายพีรพงศ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำที่ช่วยลดการดึงน้ำมาใช้ต่อหน่วยการผลิตแล้ว บริษัท ฯ ยังมีส่วนร่วมอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำลุ่มน้ำป่าสัก บริเวณเขาพระยาเดินธง ต. พัฒนานิคม จ.ลพบุรี 6,971 ไร่ ในโครงการ ซีพีเอฟ
รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง เป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์น้ำในเขื่อนป่าสัก ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญสำหรับการเกษตรและอุตสาหกรรมของจ.ลพบุรีและใกล้เคียง .

No Comments

    Leave a Reply