News

รองฯสุริยพล ตรวจความคืบหน้าโครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร จ.อยุธยา

11/05/2023

บ่ายวันนี้ (10 พฤษภาคม 2566) นายสุริยพล นุชอนงค์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ลงพื้นที่ไปติดตามความก้าวหน้าโครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีนายพงษ์ศักดิ์ เลียววงศ์วาน ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 10 นายยุทธเขตต์ ยินดีทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 11 และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และบรรยายสรุปผลการดำเนินงาน ณ ห้องประชุมโครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

นายสุริยพล นุชอนงค์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า โครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นโครงการที่กรมชลประทาน ดำเนินการเพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื่องจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่านบริเวณตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา มีลักษณะแคบเป็นคอขวด ทำให้สามารถระบายน้ำได้เพียง 1,200 ลบ.ม./วินาที อีกทั้งบริเวณเกาะเมืองอยุธยายังเป็นจุดบรรจบของแม่น้ำป่าสักและแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อปริมาณน้ำไหลมารวมกันบริเวณจุดบรรจบส่งผลให้น้ำเอ่อล้นตลิ่งอยู่เป็นประจำ กระทบต่อพื้นที่ตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา มักจะสบปัญหาอุทกภัยซ้ำซาก สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนเป็นอย่างมาก

กรมชลประทาน จึงได้ดำเนินโครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยมีองค์ประกอบโครงการ ดังนี้

1.ขุดคลองระบายน้ำสายใหม่ ความยาวประมาณ 22.50 กิโลเมตร ระบายน้ำได้สูงสุด 1,200 ลบ.ม./วินาที พร้อมก่อสร้างถนนลาดยางบนคันคลองทั้ง 2 ฝั่ง

2. ก่อสร้างประตูระบายน้ำ 2 แห่ง อัตราการระบายน้ำสูงสุด 1,200 ลบ.ม./วินาที

3. ก่อสร้างสะพานรถยนต์ข้ามคลองระบายน้ำหลากฯ จำนวน 11 แห่ง

4. ก่อสร้างสถานีสูบน้ำและท่อระบายน้ำ บริเวณจุดตัดของคลองระบายน้ำหลากกับคลองส่งน้ำเดิม จำนวน 37 แห่ง

5. ก่อสร้างกำแพงป้องกันตลิ่งบริเวณท้ายประตูระบายน้ำปลายคลองระบายน้ำหลากฯ ความยาว 4 กิโลเมตร

6. ก่อสร้างคันกั้นน้ำโดยรอบพื้นที่โครงการฯ พร้อมอาคารประกอบ มีความยาวประมาณ 54 กิโลเมตร

ปัจจุบันมีผลการดำเนินงานคืบหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 37 ของแผนฯ หากโครงการแล้วเสร็จทั้งหมด จะสามารถบรรเทาปัญหาอุทกภัยบริเวณตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา และพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ช่วยเพิ่มศักยภาพในการใช้ประโยชน์พื้นที่ด้านเกษตรกรรม ทั้งยังเป็นแหล่งน้ำต้นทุนเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคกว่า 15 ล้าน ลบ.ม. นอกจากนี้ถนนบนคันคลอง ยังสามารถใช้เป็นเส้นทางคมนาคมเชื่อมระหว่างอำเภอบางบาลและอำเภอบางไทร ตลอดจนเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สามารถสร้างรายได้เสริมให้แก่ประชาชนในพื้นที่ได้อีกด้วย
กรมช

No Comments

    Leave a Reply