News

กรมวิชาการเกษตรแนะ แนวทางการวิจัยและพัฒนาการผลิตพืชชุมชน DOA COMMUNITY BASED RESEARCH

07/08/2022

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตร (Department Of Agriculture : DOA) ได้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตพืช 2 บริบทด้วยกันคือ 1) การค้นคว้าวิจัยภายใต้สภาพแวดล้อมห้องปฏิบัติการ หรือในพื้นที่ศูนย์วิจัย ภายใต้การทรัพยากรที่เพียงพอ และควบคุมโดยนักวิจัย 2) การวิจัยในพื้นที่เกษตรกร ภายใต้เงื่อนไขภูมิสังคมเกษตรกรที่แตกต่างกันไปทั้งกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจ และสังคม เช่น ดิน น้ำ ภูมิอากาศ แรงงาน ทุน ความรู้ และเงื่อนไขภูมิสังคมอีกมากมายจากการทำงานวิจัยมา 50 ปี ซึ่งครบรอบการก่อตั้งกรมวิชาการเกษตรที่ตั้งมาในปี 2515 ได้พบว่า การวิจัยในพื้นที่เกษตรกรมีความจำเป็นที่จะต้องผสมผสานศาสตร์การวิจัยต่าง ๆ ทั้งทฤษฎี แนวทาง แนวคิด วิธีวิทยาทางการวิจัย (theory + approach + methodology) เช่น On-farm research, Farming systems research, Testing technology, Community based research, Area based research, PAR (Participatory action research) และจากผลงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตร เช่น DOA โมเดล: การผลิตพืชตามศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาชุมชนเกษตรให้พึ่งตนเอง หรือ รำแดงโมเดล เป็นต้น

“บูรณาการทฤษฎีสู่การปฏิบัติ”แนวคิดการวิจัยและพัฒนาการผลิตพืชชุมชนตามแนวทาง DOA COMMUNITY BASED RESEARCH ในการผสมผสานศาสตร์งานวิจัยในพื้นที่ชุมชนเกษตร มีวิธีการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาดังนี้

1 กำหนดหมุดหมายเชิงนโยบาย
วางแผนการวิจัยเชิงนโยบาย เช่น ประเด็นการสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ และจังหวัดเป้าหมาย

2 บูรณาการผู้มีส่วนได้เสีย
วิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder analysis) พร้อมกับประสานความร่วมมือทั้งการเป็นหุ้นส่วน และการเป็นเครือข่ายการวิจัยและพัฒนา

3 คัดเลือกชุมชนและวิเคราะห์ชุมชน
วิเคราะห์ระบบนิเวศเกษตร (Agro-ecosystem analysis) ประเมินสภาวะชนบทอย่างเร่งด่วน (Rapid Rural Appraisal – RRA) วิเคราะห์การดำรงชีพอย่างยั่งยืน (Sustainable livelihoods) วิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) และห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value chain) วิเคราะห์ระบบการผลิตพืช (Cropping system)วิเคราะห์การผลิตพืชตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4 การทดลองในไร่นาเกษตรกรแบบชุมชนมีส่วนร่วม
วางแผนการทดลอง (Experimental design) เน้นการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีจากผลการวิจัย มาปรับใช้ให้เหมาะสมหรือ การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ภายใต้เงื่อนไขภูมิสังคมเกษตร ที่เกษตรกรมีส่วนร่วมในการวิจัยและพัฒนา (Participatory action research) เพื่อให้ได้วิธีการที่เหมาะสม รวมทั้งมีการพัฒนาตามกระบวนการ DOA โมเดล: การผลิตพืชตามศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาชุมชนเกษตรให้พึ่งตนเอง โดยการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง การสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้า การเชื่อมโยงเครือข่าย และการจัดเวทีวิจัยสัญจร แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการหมุนเวีบนเยี่ยมบ้านเกษตรกร

5 การทดสอบต่างพื้นที่นำวิธีการที่เหมาะสมจากการทดลองในไร่นามาทำการทดสอบต่างพื้นที่ (Muti-location testing) เพื่อปรับวิธีการให้เหมาะสมกับแต่ละเงื่อนไขสภาพภูมิสังคมชุมชนในพื้นที่ชุมชนอื่น ๆ รวมทั้งมีการพัฒนาตามกระบวนการ DOA โมเดล: การผลิตพืชตามศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาชุมชนเกษตรให้พึ่งตนเอง

6 ทดลองขยายการผลิตแปลงใหญ่ทดลองขยายการผลิตแปลงใหญ่ หรือขยายการผลิตขั้นทดลอง รวมทั้งมีการพัฒนาตามกระบวนการ DOA โมเดล: การผลิตพืชตามศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาชุมชนเกษตรให้พึ่งตนเอง เพื่อให้ได้เทคโนโลยีการผลิตพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่ (appropriate technology)

7 บูรณาการงานวิจัยทางสังคมศาสตร์
บูรณาการงานวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) การศึกษาการแพร่กระจายของนวัตกรรมใหม่ (Diffusion of innovations) กระบวนการยอมรับ (Adoption process) กระบวนการตัดสินใจนวัตกรรม (The Innovation Decision Process ) และการพัฒนาแพลตฟอร์มนวัตกรรม (Innovation platform) เป็นต้น

8 การประเมินผลกระทบศึกษาผลกระทบ ( impact pathway) ประเมินผลกระทบงานวิจัย (input output outcome impact ) ที่มีการประเมินผลประโยชน์ที่ได้รับทั้งในทางเศรษฐศาสตร์ และสังคมศาสตร์ รวมทั้งประเมินระดับความพร้อมของเทคโนโลยี (TRL-Technology Readiness Level) ระดับความพร้อมของเทคโนโลยีทางด้านสังคม (SRL -Societal Readiness Level

9 การถ่ายทอดเทคโนโลยีจัดศึกษาดูงาน จัดอบรม จัดประชุมสัมมนา เผยแพร่ตีพิมพ์ เผยแพร่ในสื่อสารมวลชน สื่อออนไลน์ และถ่ายทอดสู่นักส่งเสริมเพื่อส่งเสริมการผลิตในวงกว้างต่อไป

บทสรุป
แนวคิดการวิจัยและพัฒนาการผลิตพืชชุมชน ตามรูปแบบ DOA COMMUNITY BASED RESEARCH เป็นแนวทางที่ได้มาจากการสรุปบทเรียนการวิจัยและพัฒนาในพื้นที่เกษตรกรมาตลอดระยะเวลา 50 ปี ซึ่งสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1-8 ได้มีการนำเครื่องมือการวิจัยรูปแบบต่าง ๆ มาใช้ในการวิจัยการผลิตพืชในพื้นที่เกษตรกร และสรุปออกมาเป็นรูปแบบการบูรณาการศาสตร์การวิจัยจากหลายสาขา มาใช้เพื่อการวิจัยและพัฒนาการผลิตพืชในชุมชนเกษตร ซึ่งนักวิจัยที่ทำงานวิจัยในชุมชนของสถาบันวิจัยต่าง ๆ สามารถนำไปใช้ให้เหมาะสมกับบริบทการทำงานในพื้นที่เกษตรกร

สอบถามเพิ่มเติมที่ นายธัชธาวินท์ สะรุโณ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการผลิตพืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ (ภาคใต้ตอนล่าง) สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

No Comments

    Leave a Reply